ประวัติเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

ชาติกำเนิด
เป็นบุตรคนที่สี่ของเจ้าพระยาอภัยราชา(ปิ่น)กับท่านผู้หญิงฟัก บรรพบุรุษของท่านเป็นพราหมณ์ชื่อสิริวัฒนะรับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชตำแหน่งราชปุโรหิตบิดาของท่านเป็นข้าหลวงเดิมในสมัยพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและเป็นสมเด็จเจ้าพระยาวังหน้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัยเกิดวันพุธเดือนยี่แรมห้าค่ำปีมะแม พ.ศ.๒๓๑๘ตรงกับวันที่๑๑มกราคม ๒๓๑๘ ที่บ้านริมคลองรอบกรุงธนบุรีด้านตะวันออกซึ่งปัจจุบันเป็นเขตกรุงเทพมหา นคร(คือบริเวณสะพานข้างโรงสีหน้ากระทรวงมหาดไทย)

การศึกษา
ได้รับการศึกษาตามแบบบุตรหลานขุนนางซึ่งสันนิษฐานว่าศึกษาอักขรสมัยใน สำนักพระวันรัตน์(ทองอยู่)  วัดบางหว้าใหญ่เช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยบุคลิกลักษณะ ท่านเป็นผู้เข้มแข็ง เฉียบขาด อดทนเฉลียวฉลาดมีไหวพริบซื่อสัตย์จงรักภักดีมีความละเอียดรอบคอบและเข้าใจ บุคคลอื่นรู้เท่าทันเหตุการณ์ รับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๑ โดยบิดาได้นำขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นจมื่นเสมอใจราชในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระพรหมสุรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจขวาเมื่อกลับจากรับราชการที่เมืองเขมรได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาราชโยธา และต่อมาได้เป็นพระยาเกษตรรักษา ว่าการกรมนา ฝ่ายพระราชวังบวร ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์โดยลำดับจาก พระยาราชสุภาวดี เป็น เจ้าพระยาราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก และเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชาสมุหนายก ในขณะที่ท่านมีอายุ ๕๓ ปี

ผลงาน
ในฐานะแม่ทัพ ท่านสามารถนำทัพออกรบจนประสบผลสำเร็จ ดังเหตุการณ์ต่อไปนี้

  • ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๓๗๒
  • สงครามระหว่างไทยกับญวน พ.ศ. ๒๓๗๖-๒๓๙๐
  • ปราบการจลาจลในเขมร พ.ศ. ๒๓๗๖-๒๓๙๒

ในด้านการทูตและการเมือง  
ท่านมีความสามารถในการเจรจาโต้ตอบเชิงการทูต ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ในการทำสงครามเพราะจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยไม่ต้องใช้กำลังเช่นการเจรจาปล่อยญวนที่เมืองโพธิสัตว์เจรจาปัญหาญวนเกลี้ย กล่อมเขมรและการแต่งตั้งพระองค์ด้วงไปปกครองเขมร

ในด้านเศรษฐกิจ
ท่านสามารถแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจแตกสลายของเขมรในช่วงการทำสงคราม ติดต่อกันถึง๑๔ปี  โดยการหาเสบียงอาหารให้เพื่อบรรเทา ความขาดแคลนส่งเสริมและสนับสนุนให้ราษฎรทำนาไม่ได้ผลก็กราบบังคมทูลพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระองค์ก็จะโปรดยกเว้นไม่เก็บค่านาแม้แต่ การจัดหาตุ่มใส่น้ำให้เขมรที่เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ท่านก็ยังเอาใจใส่ไม่ละเลย

ในด้านรักษาความสงบเรียบร้อย
ท่านได้รับมอบหมายจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทำการ ดูแลเมืองเขมรซ่อมแซมป้อมค่ายเมืองพระตะบอง สำหรับใช้เป็นฐานกำลังของไทยที่จะคุมเชิงและควบคุมเขมรในความสนับสนุนของ พระองค์ด้วง กษัตริย์ของเขมรโดยเอาใจใส่ตรวจตราดูแลความมั่นคงและปลอดภัยให้และจัดการ สร้างเมืองอุดงมีชัยมีการขุดคูเมืองเชิงเทินสร้างป้อมค่าย ให้แข็งแรง ท่านนำนโยบายห้ามสูบฝิ่นซื้อขายฝิ่นไปใช้ในเขมรอันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาโจร ผู้ร้ายท่านจะกวดขันห้ามปรามเมื่อจับจะทำโทษอย่างหนัก ไม่เว้นแม้แต่บุตรของท่าน

ในด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
 ท่านสืบทอดพระพุทธศาสนาหลายอย่าง ดังนี้

สร้างวัดใหม่ ได้แก่

  • วัดชัยชนะสงคราม (วัดตึก เวิ้งนครเกษม)
  • วัดเทพลีลา (วัดเทพลีลา หรือวัดตึกคลองตัน)
  • วัดพระยาทำ (วัดกระโดน) อ.กบินทร์บุรี จ.สระแก้ว
  • วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
  • วัดโรงเกวียน อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
  • วัดตาพระยา อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
  • วัดหลวงบดินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.สระแก้ว
  • วัดที่เมืองพระตะบอง และเมืองอุดงมีชัย

ปฏิสังขรณ์วัดที่ชำรุดทรุดโทรม ได้แก่

  • วัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม)
  • วัดปริณายก (วัดพรหมสุรินทร์)
  • วัดช่างทอง (ที่เกาะเรียน อยุธยา)
  • วัดวรนายกรังสรรค์ (เขาดิน) อยุธยา
  • วัดศาลาปูน กรุงเก่า
  • วัดอรัญญิก แขวงเมืองสระบุรี

อสัญกรรม
วันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๓๙๒ ด้วยโรคปัจจุบัน(อหิวาตกโรค)ที่บ้านริม คลองโอ่งอ่าง (บริเวณเชิงสะพานหันกับบ้านดอกไม้) รวมสิริอายุ ๗๒ ปี ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นสมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

อนุสรณ์สถาน
จากผลงานและคุณความดีที่ปรากฏต่อประเทศชาติทำให้อนุชนรุ่นหลังสร้างอนุสรณ์ สถานขึ้นเพื่อเคารพสักการะและระลึกถึงพระคุณของท่านหลายแห่ง ดังนี้

  • เมืองอุดงมีชัย ประเทศเขมร
  • วัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม)
  • วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.ยโสธร
  • ค่ายบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ อ.มะขาม จ.จันทบุรี
  • ค่ายเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ ๑๒ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
  • ค่ายบดินทรเดชา กรมทหารราบที่ ๑๖ อ.เมือง จ.ยโสธร
  • โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
  • โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
  • โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา
  • โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔
  • โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี
  • พิพิธภัณฑ์เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แขวงวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
  • ฯลฯ

———————————————————————————————————————————-

Chaopraya Bodindecha (Sing Singhaseni) Biography

Chaopraya Bodindecha (Sing Singhaseni) was one of the most remarkable political and military figures of the Rattanakosin Kingdom. Bodindecha was a supreme military general, a chief minister in charge of civilian affairs, and a chancellor during the era of King Rama III. He was notably known for demolishing  the Laotian Rebellion of King Anouvong of Vientiane in 1826 and campaigning the Siamese-Vietnamese Wars from 1831–1834 and 1841–1845. Chaopraya Bodindecha was born in 1777 in the Thonburi Kingdom, during the era of King Taksin Maharaj, to Chaopraya Apairacha (Pin) and Fak Singhaseni. In his early career, Sing Singhaseni served as a government officer under the service to Prince Isarasunthorn, the heir apparent at that time. The prince was later crowned as Buddha Loetla Nabhalai and Sing was then made a minor official by the king. During that time he became acquainted with Prince Chetsadabodin, the prince described his relationship with Sing as more a brother than a subordinate. When the Prince Chetsadabodin was crowned as Rama III in 1824, Sing was instantly entitled PrayaRatchasuphawadi by the King.

In 1826, King Anouvong of Vientiene led the Laotian Rebellion against the Rattanakosin government. King Rama III authorized PrayaRatchasuphawadi to demolish the rebellion. The victory of the war earned PrayaRatchasuphawadi a royal favor to King Rama III, and he then was entitled chief minister in charge of civilian affairs. King Rama III later granted Sing thespecial title called “Chaopraya Bodindecha”  which made up from parts of the king’s former name, Chetsadabodin.

As chancellor, Chaopraya Bodindecha had full responsibilities during the Siamese-Vietnamese War in Cambodia from 1841 to 1845. In 1841, King Rama III had commanded Siamese forces under Chaopraya Bodindecha’s supervision to help Prince Ang Duong of Cambodia to protect his throne. Chaopraya Bodindecha along with Siamese forces were able to earn victory from the war and eventually bring in the peace in 1845. Chaopraya Bodindecha stayed in Cambodia until 1848, he then returned back to Thailand and eventually passed away from cholera in 1849 at the age of 72.